วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

E1/E2

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

     การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพสามารถกระทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ลักษณะ คือ
1. พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (ผลลัพธ์)
2. เราจะกำหนดให้ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเป็น E1 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เป็น E2


     การประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior) คือการประเมินผลต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆ อย่างเรียกว่ากระบวนการ (Process) ของผู้เรียนซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม (รายงานของกลุ่ม) การปฎิบัติงานรายบุคคลอันได้แก่งานที่มอบหมายและกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้
     การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (Terminal Behavior) คือ การประเมินผลผลลัพธ์ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของผู้เรียนในเนื้อหาแต่ละหน่วย โดยพิจารณาผลการสอบหลังเรียน ประสิทธิภาพของชุดการสอนจะพิจารณาจากเกณฑ์ที่ผู้ผลิตชุดการสอนจะได้กำหนดขึ้นว่า ผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับใด จึงจะเป็นที่ยอมรับได้ว่าอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ โดยจะกำหนดไว้ 2 ส่วน คือ ในส่วนของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลเฉลี่ยของคะแนนแบบฝึกหัด หรือกิจกรรมอื่นใดที่กำหนดไว้ในชุดการสอนของผู้เรียนทุกคน ( E1) และเปอร์เซ็นต์ของผลเฉลี่ยของผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียน (E2) นั่นคือ E1/E2 จะเท่ากับ ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
     ความหมายในการตั้งเกณฑ์นั้น ถ้าหากเราตั้งเกณฑ์ค่า E1/E2 = 90 / 90 นั่น หมายความว่า เมื่อผู้เรียนเรียนจากชุดการสอนแล้ว คำนวณผลเฉลี่ยคะแนนที่ผู้เรียน คำนวณผลเฉลี่ยของคะแนนที่ผู้เรียนทุกคน สามารถทำแบบฝึกหัดหรืองานได้ผลเฉลี่ย 90 % และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผลเฉลี่ย 90 % นั่นเอง การที่จะกำหนดเกณฑ์ E 1/E2 ให้มีค่าเท่าใด ผู้ผลิตชุดการสอนจะเป็นผู้พิจารณา ตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยปกติเนื้อหาวิชาที่เป็นความรู้ ความจำ ก็มักจะตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 80/80 85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาวิชาที่เป็นความรู้ทางด้านทักษะหรือเจตคติที่จำเป็นจะต้องใช้ระยะค่อนข้างยาวนาน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือเปลี่ยนแปลงเจตคติได้ ดังนั้น จึงอาจตั้งต่ำกว่า เช่น 75/75 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตก็ไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำจนเกินไปนักเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของชุดการสอนที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอได้ เนื่องจากไม่ได้มีการปรังปรุงแต่อย่างใด ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วในขั้นตอนการทดลองครั้งแรกๆ จะได้ค่าประสิทธิภาพที่ต่ำแต่เมื่อได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ และในขณะเดียวกันหากได้ค่าประสิทธิภาพสูงมาก ๆ ก็ไม่ควรจะตัดสินใจยอมรับค่านั้นในทันทีเพราะค่าประสิทธิภาพที่สูง อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น เนื้อหาที่จัดให้ง่ายกว่าของผู้เรียนหรือข้อสอบยังไม่ดีพอ โดยอาจจะเกิดจากการสร้างตัวเลือกไม่ดี เดาง่าย เป็นต้น ดังนั้น ผู้ผลิตชุดการสอนต้องตรวจสอบกระบวนการในการผลิตชุดการสอนในแต่ละขั้นว่า ถูกต้องและเหมาะสมเพียงใดอีกด้วย


Link สื่อการสอน E1/E2 ของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สำหรับผู้ที่สนใจ



T-Test

         t-test เป็นการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (n < 30) การทดสอบผู้วิจัยจะต้องทราบค่าความแปรปรวนของประชากร หรือในกรณีไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากรเพราะในงานวิจัยผู้วิจัยจะไม่มีโอกาสทราบค่าความแปรปรวนของประชากรผู้วิจัยก็อาจจะใช้ค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง (S2) แทน

          การทดสอบที (t - test) ใช้ทดสอบกรณีต่าง ๆ  ดังนี้

1.  การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว
การทดสอบแบบนี้ใช้ในกรณีผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างมาเพียงกลุ่มเดียว แล้วต้องการทดสอบว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนี้จะแตกต่างจากค่าเฉลี่ยมาตรฐานอื่นๆหรือไม่ค่าต่างๆที่กำหนดเป็นเกณฑ์ถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยของประชากร

2.  การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่ม 
         กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มเป็นอิสระจากกัน  (Independent  Samples)
เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม 
ในกรณีที่ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร และกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่มีขนาดเล็ก 
กล่าวคือ  n1 <  30  และ  n2 <  30  ซึ่งก่อนที่จะทำการทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบที 
จะต้องนำค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไปทดสอบเพื่อสรุปว่า 
ประชากรที่ศึกษานั้นมีความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่
         กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent  Samples)
เป็นการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กันด้วย t - test
คำนวณจากสูตร   

ที่มา : teacher.stjohn.ac.th

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

นิทานเรื่อง นางสิบสอง


*** นิทานเรื่อง นางสิบสอง ***
เนื้อหา แบบฝึกหัด และเฉลย



รายชื่อสมาชิก
1.นางสาวชื่นฤดี       หรับหลี     56131109023
2.นางสาววาสนา      จิตร์ประไพ   56131109024
3.นางสาวศรัณยา      ศิริมาก     56131109032
4.นางสาวชลทิพย์     อาจยุทธ    56131109041
5.นางสาวศศิประภา    ศรีแสง     56131109051

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

CMS & LMS


Content Management System ; CMS


*เว็บไซต์ข้างต้นเป็นเว็บไซต์สารพัดประโยชน์ เกี่ยวกับการสร้างการประดิษฐ์ทุกสิ่งอย่าง
เช่น สร้างอุปกรณ์รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆและการทำอาหาร

ตัวอย่าง : อธิบายการทำช็อกโกแลตมัฟฟิน

ตัวอย่าง : สอนวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์

*เว็บไซต์นี้เขียนขึ้นโดย Autodesk ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบ สาธารณูปโภค อุตสาหกรรม อาคาร สื่อและการบันเทิง ก่อตั้งโดย จอห์น วอล์กเกอร์
Link สำหรับผู้ที่สนใจ : http://www.instructables.com/


Learning Management System ; LMS


*เป็นเว็บไซต์แบบทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ
ซึ่งเปิดให้บริการกับผู้ใช้ทั่วไป ที่มีความสนใจด้านภาษาอังกฤษ
เว็บไซต์นี้เขียนขึ้นโดย Adobe ก่อตั้งโดย Charles Geschke และ John Warnock
Link สำหรับผู้ที่สนใจ : https://www.oxfordenglishtesting.com

♥  ขอบคุณค่ะ