Sasiprapha Srisaeng
★ ------ ( ・ω・ ) ♪ ------ ★
วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557
การบ้าน : หาความหมายของคำศัพท์
FTP
(File Transfer Protocol)
เครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต
เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/เอฟทีพี
http://www.hill2dot0.com
RSS
(Really Simple Realy Simple Syndication)

RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบอินเตอร์เน็ต
จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือ
ข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Update ไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
ข้อดีของ RSS
RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น
จุดเด่นของ RSS
จุดเด่นคือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
ที่มา : http://www.impossible.sg
Mashup
คำว่า “mashup” หรือ "mash-up" เป็นศัพท์เฉพาะในแวดวงของนักพัฒนา application แบบ client-server ประเภทที่ทำเติมต่อขึ้นเองโดยใช้software tool และ ทรัพยากรที่ทางผู้ให้บริการจัดไว้ให้ เป็นคำใหม่ที่ใช้กันหนาหูในปี 2005 มีที่มาจากวงการเพลงเมื่อนักจัดรายการเพลงเกิดความคิดแหวกแนวโดยทดลองเปิดเพลง 2 เพลงพร้อมๆกัน ทำให้เกิดเสียงเพลงที่ผสมผสานที่แปลก และบางครั้งมีความไพเราะ และเรียกขานผลที่เกิดขึ้นว่า “mashup”
mashup ที่กล่าวถึงกันมากในแวดวงนักพัฒนาแอพลิเคชันที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 ส่วน ส่วนแรกคือ application program interface (API) และทรัพยากรสนับสนุนจากเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ และส่วนที่ 2 คือโปรแกรมและทรัพยากรของผู้พัฒนาแอพลิเคชันนั้น (ติดตั้งอยู่ที่เว็บไซท์ของผู้พัฒนา) ต้วอย่างกรณีของ Google Maps mashup ก็จะหมายถึงเว็บเพจที่นักพัฒนาเว็บไซท์สร้างขึ้นให้มีส่วนประกอบที่เป็นแผนที่ที่สามารถทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ โดยมีแผนที่ฐานเป็นส่วนที่ Google จัดไว้ให้แล้ว และมีข้อมูลแผนที่ของตนเองซ้อนทับในลักษณะหมุดปัก (ที่สามารถแสดงข้อความซึ่งแฝงอยู่เมื่อผู้ใช้คลิกที่หมุดเหล่านั้น) หรือลักษณะอื่นที่สลับซับซ้อนกว่านั้น
ที่มา : http://guru.google.co.th
http://www.narisa.com
Gadget
แก็ดเจ็ต มีความหมายว่า อุปกรณ์ คำ คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันไม่นานนี่เอง จะนำมาใช้ในรูปแบบของโปรแกรมเสริม เล็กๆน้อยๆ เช่น นาฬิกา บน windows 7 โปรแกรมเสริมการรายงานข่าว และเริ่มมีการใช้กับอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีที่มันสมัย และมีขนาด ทั้งด้านความจุหรือปริมาณไม่มาก (ขนาดเล็ก) ส่วนใหญ่จะเน้น ด้านความบันเทิง ความสนุก ความสะดวก เราคงจะพอทราบความหมายของคำว่า Gadget กันบ้างแล้วใช้ไหม สรุปก็คือ สิ่งประดิษฐ์ ขนาดเล็กๆ ในดานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรืออุปกรณ์ ก็สามารถเรียกว่า Gadget ได้เหมือนกัน แต่จะเป็นประเภทไหนแค่นั้นเอง
ตัวอย่าง Gadget ที่น่าสนใจในปี 2014
Apple iPhone 6 Google Glasses


ที่มา : http://www.loadthegame.com
Widget
Widget คือ ชุดคำสั่งโปรแกรมขนาดเล็ก หรือโปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงานที่สร้าง
จากโปรแกรมแฟลช หรือจาวาสคริปต์ ช่วยรองรับการทำงานของอินเตอร์เฟสกับแอพพลิเคชั่น
หรือระบบปฏิบัติการ Widget ที่พบกันบ่อยๆ เช่น ปุ่ม ไอคอน และแถบเมนู Widget ถูกนำไปติดไว้
บนเว็บไซต์ต่าง ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมถึง บล็อค และมือถือด้วย
ตัวอย่าง Widget ที่น่าสนใจ เช่น
Battery HD (FREE)

Phishing

Phishing (ออกเสียงเหมือน Fishing) คือ กลลวงที่แยบยลทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมักมาในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล หรือข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ อาทิ หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ (User Name) รหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัว
รวบรวมโดย นางสาว ศศิประภา ศรีแสง รหัส 56131109051
วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557
Storyboard นางสิบสอง
Storyboard
รายชื่อสมาชิก
1.นางสาวชื่นฤดี หรับหลี 56131109023
2.นางสาววาสนา จิตร์ประไพ 56131109024
3.นางสาวศรัณยา ศิริมาก 56131109032
4.นางสาวชลทิพย์ อาจยุทธ 56131109041
5.นางสาวศศิประภา ศรีแสง 56131109051
วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
E1/E2
การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ
การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพสามารถกระทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ลักษณะ คือ
1. พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (ผลลัพธ์)2. เราจะกำหนดให้ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเป็น E1 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เป็น E2
การประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior) คือการประเมินผลต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆ อย่างเรียกว่ากระบวนการ (Process) ของผู้เรียนซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม (รายงานของกลุ่ม) การปฎิบัติงานรายบุคคลอันได้แก่งานที่มอบหมายและกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้
การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (Terminal Behavior) คือ การประเมินผลผลลัพธ์ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของผู้เรียนในเนื้อหาแต่ละหน่วย โดยพิจารณาผลการสอบหลังเรียน ประสิทธิภาพของชุดการสอนจะพิจารณาจากเกณฑ์ที่ผู้ผลิตชุดการสอนจะได้กำหนดขึ้นว่า ผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับใด จึงจะเป็นที่ยอมรับได้ว่าอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ โดยจะกำหนดไว้ 2 ส่วน คือ ในส่วนของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลเฉลี่ยของคะแนนแบบฝึกหัด หรือกิจกรรมอื่นใดที่กำหนดไว้ในชุดการสอนของผู้เรียนทุกคน ( E1) และเปอร์เซ็นต์ของผลเฉลี่ยของผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียน (E2) นั่นคือ E1/E2 จะเท่ากับ ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
ความหมายในการตั้งเกณฑ์นั้น ถ้าหากเราตั้งเกณฑ์ค่า E1/E2 = 90 / 90 นั่น หมายความว่า เมื่อผู้เรียนเรียนจากชุดการสอนแล้ว คำนวณผลเฉลี่ยคะแนนที่ผู้เรียน คำนวณผลเฉลี่ยของคะแนนที่ผู้เรียนทุกคน สามารถทำแบบฝึกหัดหรืองานได้ผลเฉลี่ย 90 % และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผลเฉลี่ย 90 % นั่นเอง การที่จะกำหนดเกณฑ์ E 1/E2 ให้มีค่าเท่าใด ผู้ผลิตชุดการสอนจะเป็นผู้พิจารณา ตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยปกติเนื้อหาวิชาที่เป็นความรู้ ความจำ ก็มักจะตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 80/80 85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาวิชาที่เป็นความรู้ทางด้านทักษะหรือเจตคติที่จำเป็นจะต้องใช้ระยะค่อนข้างยาวนาน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือเปลี่ยนแปลงเจตคติได้ ดังนั้น จึงอาจตั้งต่ำกว่า เช่น 75/75 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตก็ไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำจนเกินไปนักเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของชุดการสอนที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอได้ เนื่องจากไม่ได้มีการปรังปรุงแต่อย่างใด ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วในขั้นตอนการทดลองครั้งแรกๆ จะได้ค่าประสิทธิภาพที่ต่ำแต่เมื่อได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ และในขณะเดียวกันหากได้ค่าประสิทธิภาพสูงมาก ๆ ก็ไม่ควรจะตัดสินใจยอมรับค่านั้นในทันทีเพราะค่าประสิทธิภาพที่สูง อาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น เนื้อหาที่จัดให้ง่ายกว่าของผู้เรียนหรือข้อสอบยังไม่ดีพอ โดยอาจจะเกิดจากการสร้างตัวเลือกไม่ดี เดาง่าย เป็นต้น ดังนั้น ผู้ผลิตชุดการสอนต้องตรวจสอบกระบวนการในการผลิตชุดการสอนในแต่ละขั้นว่า ถูกต้องและเหมาะสมเพียงใดอีกด้วย
Link สื่อการสอน E1/E2 ของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สำหรับผู้ที่สนใจ
T-Test
t-test เป็นการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก
(n < 30) การทดสอบผู้วิจัยจะต้องทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
หรือในกรณีไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากรเพราะในงานวิจัยผู้วิจัยจะไม่มีโอกาสทราบค่าความแปรปรวนของประชากรผู้วิจัยก็อาจจะใช้ค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง
(S2) แทน
การทดสอบที (t - test) ใช้ทดสอบกรณีต่าง ๆ ดังนี้
1. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว
การทดสอบแบบนี้ใช้ในกรณีผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างมาเพียงกลุ่มเดียว แล้วต้องการทดสอบว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนี้จะแตกต่างจากค่าเฉลี่ยมาตรฐานอื่นๆหรือไม่ค่าต่างๆที่กำหนดเป็นเกณฑ์ถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยของประชากร
การทดสอบที (t - test) ใช้ทดสอบกรณีต่าง ๆ ดังนี้
1. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว
การทดสอบแบบนี้ใช้ในกรณีผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างมาเพียงกลุ่มเดียว แล้วต้องการทดสอบว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนี้จะแตกต่างจากค่าเฉลี่ยมาตรฐานอื่นๆหรือไม่ค่าต่างๆที่กำหนดเป็นเกณฑ์ถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยของประชากร
2. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่ม
กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มเป็นอิสระจากกัน (Independent Samples)
เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
ในกรณีที่ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร และกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่มีขนาดเล็ก
กล่าวคือ n1 < 30 และ n2 <
30 ซึ่งก่อนที่จะทำการทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบที
จะต้องนำค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไปทดสอบเพื่อสรุปว่า
ประชากรที่ศึกษานั้นมีความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่
กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน
(Dependent Samples)
เป็นการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กันด้วย t - test
คำนวณจากสูตร
ที่มา : teacher.stjohn.ac.th
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)